เมนู

อธิบายจิตดวงที่ 3



ในจิตดวงที่ 3 บทว่า ญาณวิปฺปยุตตํ ความว่า จิตไม่ประกอบ
ด้วยญาณ ชื่อว่า ญาณวิปปยุต ถึงจิตญาณวิปปยุตนี้จะร่าเริงยินดีแล้วใน
อารมณ์ แต่ว่าในจิตดวงที่ 3 นี้ไม่มีญาณเป็นเครื่องกำหนด เพราะฉะนั้น
จิตที่เป็นญาณวิปปยุตนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นในกาลที่พวกเด็กเล็ก ๆ
เห็นภิกษุแล้วไหว้ด้วยคิดว่า พระเถระนี้ของพวกเราดังนี้ และในกาลต่าง ๆ
มีการไหว้พระเจดีย์และการฟังธรรมเป็นต้น โดยนัยนั้นนั่นแหละ ก็ในพระบาลี
จิตดวงที่ 3 นี้ ไม่มีปัญญาในที่ 7 แห่ง คำที่เหลือเป็นไปตามปกติ คือ เช่นกับ
ที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.
จบจิตดวงที่ 3

อธิบายจิตดวงที่ 4



แม้ในจิตดวงที่ 4 ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่จิตดวงที่ 4 นี้ เพราะพระ-
บาลีว่า สสํขาเรน (การชักชวน) พึงทราบว่า ย่อมมีในกาลที่มารดาบิดา
จับศีรษะเด็กเล็ก ๆ ให้ก้มไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ถึงแม้เด็กเหล่านั้นไม่ปรารถนา
จะไหว้ก็ร่าเริงยินดี.
จบจิตดวงที่ 4

อธิบายจิตดวงที่ 5 เป็นต้น



ในจิตดวงที่ 5 บทว่า อุเปกฺขาสหคตํ ได้แก่ สัมปยุตด้วย
อุเบกขาเวทนา เพราะว่า อุเบกขาสหคตะนี้ ย่อมเป็นกลางในอารมณ์ ในจิต
ดวงที่ 5 นี้ มีญาณเป็นเครื่องกำหนดโดยแท้. ก็ในจิตดวงที่ 5 นี้ในบาลี

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุเบกขาย่อมมีในหมวด 4 แห่งฌาน อุเบกขินทรีย์
ย่อมมีในหมวด 8 แห่งอินทรีย์ ดังนี้ แล้วทรงทำเทศหาโดยการปฏิเสธสิ่งที่
น่ายินดี ไม่น่ายินดี สุข ทุกข์ในนิทเทสแห่งบทว่า เวทนา เป็นต้น แม้ทั้งปวง
แล้วตรัสอทุกขมสุขเวทนา พึงทราบความที่อทุกขสุขเวทนานั้นเป็นอุเบกขินทรีย์
ด้วยสามารถแห่งการครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งมัชฌัตตา. อนึ่ง เมื่อ
ว่าโดยลำดับแห่งบทไม่มีปีติในฐานะหนึ่งเลย เพราะฉะนั้น ธรรม 55 ท่าน
จึงยกขึ้นสู่พระบาลีด้วยสามารถแห่งองค์ประกอบของจิต พึงทราบวินิจฉัยใน
โกฏฐาสทั้งปวง และในวาระทั้งปวงด้วยสามารถแห่งธรรมเหล่านั้น.
พึงทราบจิตดวงที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 โดยนัยที่กล่าวแล้วในจิตดวงที่ 2
ที่ 3 ที่ 4 นั่นแหละ. ในจิตดวงที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 เหล่านี้ การเปลี่ยนไป
แห่งเวทนาและการลดปีติอย่างเดียว. คำที่เหลือ กับนัยแห่งการเกิดขึ้นเป็น
เช่นนั้นเหมือนกัน. แม้ในการบริกรรมของกรุณาและมุทิตา ความเกิดขึ้นแห่ง
จิตดวงที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 เหล่านี้ ได้รับรองแล้วในมหาอรรถกถาทีเดียว.
จิตเหล่านี้ ชื่อว่า กามาวจรกุศลจิต 8 ดวง.
กามาวจรกุศลจิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมดบัณฑิตพึงแสดงด้วยบุญกิริยา-
วัตถุ 10 ประการ ถามว่าแสดงอย่างไร ? ตอบว่า พึงแสดง ชื่อบุญกิริยาวัตถุ
10 เหล่านี้ คือ
1. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน
2. สีลมัย " " ด้วยศีล
3. ภาวนามัย " " ด้วยภาวนา
4. อปจิติสหคตะ บุญที่สหรคตด้วยนอบน้อม
5. เวยยาวัจจสหคตะ " ด้วยการขวนขวาย

6. ปัตตานุปทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ
7. อัพภานุโมทนมัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา
8. เทศนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
9. สวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
10. ทิฏฐุชุกรรม.
บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น ทานนั่นแหละชื่อว่า ทานมัย เป็น
การทำบุญ (ปุญฺญกิริยา) การทำบุญนั้นด้วย เป็นวัตถุ (คือที่ตั้ง) แห่งอานิสงส์
ทั้งหลายนั้น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ. ในบุญกิริยาวัตถุ
แม้ที่เหลือก็นัยนี้แหละ.
บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น เมื่อบุคคลให้ปัจจัยเป็นต้น ในบรรดา
ปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น หรือในบรรดาอารมณ์ 6 มีรูปเป็นต้น หรือทานวัตถุ
10 มีการให้ข้าวเป็นต้นนั้น เจตนาที่เป็นไปในกาลทั้ง 3 คือ ในกาลเบื้องต้น 1
ในกาลบริจาค 1 ในการตามระลึกถึงด้วยจิตโสมนัสในกาลภายหลัง 1 จำเดิม
แต่การเกิดขึ้นแห่งปัจจัยเป็นต้นนั้น ๆ ชื่อว่าเป็นบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยการ
ให้ (ทานมยํ).
เจตนาที่เป็นไปของบุคคลผู้สมาทานศีล 5 หรือศีล 8 หรือศีล 10
หรือของผู้ไปสู่วิหารด้วยคิดว่า เราจักบวชก็ดี ผู้บวชอยู่ก็ดี ผู้ยังมโนรถให้ถึง
ที่สุดแล้วรำพึงว่า เราบวชแล้วเป็นการดียิ่งหนอดังนี้ก็ดี ผู้สำรวมพระปาฏิโมกข์
ก็ดี ผู้พิจารณาปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้นก็ดี ผู้สำรวมทวารมีจักขุทวารเป็นต้น
ในรูปเป็นต้นที่มาสู่คลองก็ดี ผู้ชำระอาชีวะให้บริสุทธิ์ก็ดี ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ
สำเร็จด้วยศีล (สีลมยํ).

เจตนาที่เป็นไปของบุคคลผู้พิจารณาจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้พิจารณาโสต ฯลฯ ผู้พิจารณามนะ ฯสฯ ผู้พิจารณา
รูปทั้งหลาย ฯลฯ ผู้พิจารณาธรรมทั้งหลาย ผู้พิจารณาจักขุวิญญาณ ฯลฯ
ผู้พิจารณามโนวิญญาณ. ผู้พิจารณาจักขุสัมผัส ฯลฯ ผู้พิจารณามโนสัมผัส ผู้
พิจารณาเวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ผู้พิจารณาเวทนาอันเกิดแต่ มโน
สัมผัส ผู้พิจารณารูปสัญญา ฯลฯ ผู้พิจารณาชรามรณะโดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยอุบายแห่งวิปัสสนา (วิปสฺสนามคฺเคน)
ที่พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค หรือว่าเจตนาแม้ทั้งหมดที่ไม่
ถึงอัปปนาในอารมณ์ 38 อย่าง ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยภาวนา
(ภาวนามยํ).
พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่สหรคต โดยเห็นผู้ใหญ่แล้วทำการต้อนรับ
การรับบาตรจีวร การอภิวาท และการหลีกทางให้เป็นต้น.
พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่สหรคต ด้วยการขวนขวายในกาลขวนขวาย
ทางกาย ด้วยสามารถทำวัตรและทำวัตรปฏิบัติแก่ภิกษุผู้เจริญกว่าก็ดี โดยเห็น
ภิกษุผู้เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต แล้วรับบาตรชักชวนให้เข้าไปรับภิกษา
ในบ้านก็ดี โดยได้ยินคำว่า ท่านจงไป จงนำบาตรมาให้ภิกษุทั้งหลาย แล้ว
รีบไปนำบาตรมาให้เป็นต้นก็ดี.
เมื่อบุคคลให้ทาน กระทำการบูชาด้วยของหอมเป็นต้น แล้วให้ส่วน
บุญว่า ขอส่วนบุญจงมีแก่บุคคลชื่อโน้น หรือว่า ขอส่วนบุญจงมีแก่สรรพสัตว์
ทั้งหลาย ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นบุญกิริยาวัตถุอันเกิดแต่การให้ส่วนบุญ.
ถามว่า ก็เมื่อบุคคลให้อยู่ซึ่งส่วนบุญนี้ บุญย่อมไม่หมดไปหรือ ตอบว่า
ย่อมไม่หมดไป เหมือนอย่างว่า บุคคลตามประทีปให้โพลงอยู่หนึ่งดวง แล้ว

ก็ยังประทีปหนึ่งพันดวงให้สว่างโพลงได้เพราะประทีปหนึ่งดวงนั้น ใคร ๆ ไม่
พึงพูดได้ว่า ประทีปดวงแรกสิ้นไปแล้ว แต่ว่า แสงสว่างแห่งประทีปดวง
หลัง ๆ กับประทีปดวงแรกรวมกัน แล้วก็เป็นแสงสว่างมากยิ่ง ฉันใด เมื่อ
บุคคลให้อยู่ซึ่งส่วนบุญก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อว่าบุญทั้งหลายที่จะลดลงไปย่อม
ไม่มี พึงทราบว่า ย่อมมีแต่เจริญขึ้นเท่านั้น.
พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่เกิดจากการอนุโมทนา ด้วยสามารถแห่งการ
อนุโมทนาส่วนบุญที่บุคคลอื่นให้แล้ว หรือว่าด้วยบุญกิริยาอื่น ๆ ด้วยการ
เปล่งว่า สาธุ (ดี) สุฏฺฐุ (ดี) ดังนี้.
ภิกษุรูปหนึ่งตั้งอยู่ในความอยากโดยคิดว่า ชนทั้งหลายจักรู้จักเราว่า
เป็นพระธรรมกถึก ดังนี้ แล้วเป็นผู้หนัก (มาก) ด้วยลาภแสดงธรรม การ
แสดงธรรมนั้นไม่มีผลมาก. ส่วนภิกษุรูปหนึ่ง ไม่หวังผลตอบแทนแสดงธรรม
ที่ตนชำนาญแก่ชนเหล่าอื่น โดยอุบายที่จะให้บรรลุวิมุตติ การแสดงนี้ ชื่อว่า
บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยการแสดง (เทสนามยํ).
ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อฟังธรรม ย่อมฟังด้วยคิดว่า ชนทั้งหลายจักรู้เรา
ว่าเป็นผู้มีศรัทธา การฟังนั้นไม่มีผลมาก. ส่วนภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมฟังธรรม
ด้วยจิตอ่อนโยน ด้วยการแผ่ไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูลว่า ผลมากจักมีแก่เราด้วย
อาการอย่างนี้ การฟังธรรมนั้น ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยการฟัง
(สวนมยํ).
เมื่อบุคคลทำความเห็นให้ตรง ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ ที่เกิดจากการ
ทำความเห็นให้ตรง. แต่ท่านทีฆภาณกาจารย์กล่าวว่า ทิฏฐุชุกรรมเป็นลักษณะ
นิยม (คือเครื่องหมายแห่งความสมบูรณ์) ของบุญกิริยาทั้งหมด เพราะว่า

เมื่อบุคคลจะทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นบุญมีผลมาก เพราะความเห็น
อันตรงนั่นเอง ดังนี้.
ก็บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัยย่อมเกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้คิดอยู่ว่า เราจักให้ทานก่อน เมื่อบุคคลกำลังให้ทาน บุญกิริยาวัตถุ
ที่เป็นทานมัยก็เกิดขึ้น เมื่อบุคคลพิจารณาอยู่ว่า ทานอันเราให้แล้วดังนี้
บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัยก็เกิดขึ้น ธรรมดาว่า บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัย
จะมีได้ก็เพราะทำเจตนาทั้ง 3 คือ บุพเจตนา มุญจนเจตนา อปรเจตนา
ให้เป็นอันเดียวกัน. แม้ศีลมัย ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้คิดอยู่ว่า เราจักบำเพ็ญ
ศีลมัยก็ย่อมเกิดขึ้น ในเวลาที่กำลังบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ศีลมัยก็เกิดขึ้น เมื่อ
พิจารณาว่า เราได้บำเพ็ญศีลแล้ว ศีลมัยก็ย่อมเกิดขึ้น ธรรมดาว่า บุญกิริยา
วัตถุที่เป็นศีลมัยจะมีได้ก็เพราะเจตนาแม้ทั้งปวงนั้นเป็นอันเดียวกัน ฯลฯ แม้
บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทิฏฐุชุกรรม เมื่อเกิดก็ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้คิดว่า เราจักทำ
ความเห็นให้ตรง ดังนี้ เมื่อบุคคลกำลังทำความเห็นให้ตรง ทิฏฐุชุกรรมก็
ย่อมเกิดขึ้น เมื่อบุคคลพิจารณาอยู่ว่า ความเห็นอันเราทำให้ตรงแล้ว ดังนี้
ทิฏฐุชุกรรมก็ย่อมเกิดขึ้น ธรรมดาบุญกิริยาวัตถุที่เป็นทิฏฐุชุกรรมจะมีได้ก็
เพราะทำเจตนาแม้ทั้งหมดเหล่านั้นให้เป็นอันเดียวกัน ก็บุญกิริยาวัตถุใน
พระสูตรมีมาเพียง 3 เท่านั้น.
พึงทราบการสงเคราะห์บุญกิริยาวัตถุแม้นอกนี้ ลงในบุญกิริยาวัตถุ 3
เหล่านั้น จริงอยู่ ความประพฤติอ่อนน้อมและการขวนขวาย ย่อมสงเคราะห์
เป็นศีลมัยเท่านั้น. การให้ส่วนบุญและการอนุโมทนาส่วนบุญสงเคราะห์เข้าใน
ทานัย. การแสดงธรรม การฟัง และทิฏฐุชุกรรมสงเคราะห์เข้าในภาวนามัย.
ส่วนชนเหล่าใดกล่าวว่า ทิฏฐุชุกรรมเป็นลักษณะแห่งความสมบูรณ์กว่า

บุญกิริยาทั้งปวง ทิฏฐุชุกรรมของชนเหล่านั้น ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงใน
บุญกิริยาวัตถุแม้ทั้ง 3. บุญกิริยาวัตถุเหล่านั้นโดยย่อมี 3 โดยพิสดารมี 10
ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น เมื่อบุคคลคิดอยู่ว่า เราจักให้ทาน ดังนี้
ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศลจิต 8 ดวง ดวงใดดวงหนึ่งโดยแท้. แม้เมื่อให้ (ทาน)
ก็ย่อมให้ด้วยกามาวจรกุศลจิต 8 ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้เมื่อ
พิจารณาว่า ทานอันเราถวายแล้วดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศลจิต
8 ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน แม้เมื่อคิดว่า เราจักบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์
ดังนี้ ก็ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศลจิต 8 ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้
กำลังบำเพ็ญศีลอยู่ ก็บำเพ็ญด้วยกามาวจรกุศลจิต 8 ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง
นั่นแหละ แม้พิจารณาว่า ศีลเราบำเพ็ญแล้ว ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจร-
กุศลจิต 8 ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน แม้เมื่อคิดว่า เราจักเจริญภาวนา
ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศลจิต 8 ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ
แม้เมื่อเจริญภาวนา ก็ย่อมเจริญด้วยกามาวจรกุศลจิต 8 ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง
นั่นแหละ แม้เมื่อพิจารณาว่า ภาวนาเราเจริญแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วย
กามาวจรกุศล 8 ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน.
แม้เมื่อคิดว่า เราจักทำความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ก็ย่อมคิดด้วยกามา-
วจรกุศลจิต 8 ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้เมื่อจะกระทำก็ย่อมกระทำ
ด้วยกามาวจรกุศลจิต 8 ดวง เหล่านั้นดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อพิจารณาว่า
ความอ่อนน้อมเรากระทำแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล 8
เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจักทำกรรมคือการขวนขวายทาง
กาย แม้เมื่อจะการทำ แม้เมื่อพิจารณาว่า เราทำการขวนขวายแล้ว ก็ย่อม

พิจารณาด้วยกามาวจรกุศล 8 เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจัก
ให้ส่วนบุญ ดังนี้ แม้เมื่อกำลังให้ แม้เมื่อพิจารณา ส่วนบุญอันเราให้แล้ว
แม้คิดว่าเราจักอนุโมทนาส่วนบุญ หรือกุศลที่เหลือ ดังนี้ ก็คิดด้วยกามาวจร-
กุศลจิต 8 เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่ออนุโมทนา ก็ย่อมอนุโมทนา
ด้วยกามาวจรกุศล 8 เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อจะพิจารณาว่า คำ
อนุโมทนาเราอนุโมทนาแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล 8 เหล่านั้น
ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจักแสดงธรรม ก็คิดด้วยกามาวจรกุศล 8
เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อแสดง ก็ย่อมแสดงด้วยกามาวจรกุศล 8
เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อพิจารณาว่า เราแสดงเทศนาแล้ว ดังนี้
ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล 8 เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า
เราจักฟังธรรม ดังนี้ ก็ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศล 8 เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง
แม้เมื่อฟังก็ย่อมฟังด้วยกามาวจรกุศลจิต 8 เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อ
พิจารณาว่า เราฟังธรรมแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล 8
เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจักกระทำทิฏฐิให้ตรง ดังนี้
ก็ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศลจิต 8 เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง ก็เมื่อจะกระทำ
ความเห็นให้ตรง ก็ย่อมกระทำโดยญาณสัมปยุต 4 ดวงใดดวงหนึ่ง ก็เมื่อจะกระทำ
พิจารณาว่า ทิฏฐิอันตรงเรากระทำแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศลจิต
8 เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง.

ว่าด้วยอนันตะ (สิ่งไม่มีที่สุด) 4 อย่าง



ในฐานะ (แห่งกามาวจรกุศลจิต 8) นี้ ท่านถือเอาอนันตะ 4 อย่าง
จริงอยู่ อนันตะ มี 4 อย่าง คือ